How to Join

พบข้อผิดพลาดในบทความ? สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายกว่าเดิม? หรืออยากแชร์เรื่องใหม่ๆ ก็ทำได้ไม่ยาก เพียงแค่ทำตามข้อแนะนำต่อไปนี้

ร่วมแก้ไข/เพิ่มบทความ

ผ่านหน้าเว็บ

  • ล๊อกอิน GitHub (หรือสร้างบัญชีผู้ใช้ใหม่)
  • ไปยัง repository ของเว็บเราที่ github.com/keancode/keancode.github.io
  • ไปยังไดเรกทอรี _posts/ แล้วค้นหาบทความที่จะแก้ไข/เริ่มต้นเขียนบทความใหม่ได้เลย (ระบบจะทำการ fork repository ให้โดยอัตโนมัติ)
  • เมื่อแก้ไขเรียบร้อยแล้วกด Pull Request เพื่อส่งบทความกลับมาที่เรา
  • เราจะทำการรีวิวบทความที่คุณส่งเข้ามาเพื่อนำขึ้นเว็บต่อไป

ผ่าน command line

  • สั่ง git clone https://github.com/keancode/keancode.github.io.git keancode
  • เข้าไปยังไดเรกทอรี keancode/_post แล้วค้นหาบทความที่จะแก้ไข/เริ่มต้นเขียนบทความใหม่ด้วยคำสั่ง rake post
  • เมื่อแก้ไขเรียบร้อยแล้ว สั่ง git commit และ git push
  • เราจะทำการรีวิวบทความที่คุณส่งเข้ามาเพื่อนำขึ้นเว็บต่อไป

เมื่อต้องการเริ่มต้นบทความใหม่

  • สร้างไดเรกทอรีใหม่ ถ้าหากหัวข้อที่คุณต้องการเขียนนั้น ยังไม่มีไดเรกทอรีย่อยอยู่ใน _posts/
  • เข้าไปยังไดเรกทอรีย่อยของเรื่องที่คุณต้องการเขียน
  • สร้างไฟล์ใหม่ด้วยชื่อ yyyy-mm-dd-slug.md เมื่อ yyyy-mm-dd คือ ปี-เดือน-วัน ของบทความชิ้นนั้น และมี slug เป็นชื่อ url ที่คุณต้องการเรียก (เป็นภาษาอังกฤษ/ควรสั้นแต่ยังได้ใจความ)
  • แล้วเริ่มต้นบทความดังนี้ (ตัวอย่าง template)
    ---
    layout: post
    category: หมวดหมู่ // เปลี่ยนเป็นชื่อไดเรกทอรีของบทความนี้ (ภาษาอังกฤษ/ตัวเล็ก)
    author: ผู้เขียน // นามปากกาของผู้เขียนบทความนี้
    title: หัวเรื่อง // ตั้งให้น่าสนใจตามต้องการ
    ---

    เนื้อหา // ส่วนของบทความ ในที่นี้เราใช้ markdown ในการเขียนครับ

markdown เบื้องต้น

ขึ้นบรรทัดใหม่

เคาะ Space bar 2 ครั้งข้างหลังข้อความแล้ว Enter ครั้งนึง

จะแสดงเป็น

ข้อความบรรทัดแรก
ข้อความบรรทัดที่สอง


ย่อหน้าใหม่

ทำได้โดย กด Enter 2 ครั้ง

จะแสดงเป็น

ข้อความบรรทัดแรก

ข้อความบรรทัดที่สอง


จัดหัวข้อ

หากจะให้มีตัวเลขนำก็ พิมพ์ตัวเลข ตามด้วย . แล้ว วรรค 1 ครั้ง
หากไม่ต้องการตัวเลข ให้ใช้ * หรือ - หรือ + อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้ว วรรค 1 ครั้ง

ตัวอย่าง

1. หัวข้อแรก
2. หัวข้อที่สอง

- หัวข้อแรก
- หัวข้อที่สอง

จะแสดงเป็น
  1. หัวข้อแรก
  2. หัวข้อที่สอง
  • หัวข้อแรก
  • หัวข้อที่สอง

ทำตัวหนา

ใช้ ** คร่อมข้อความที่ต้องการ

ตัวอย่าง

**ตัวหนา**

จะแสดงเป็น

ตัวหนา


ทำตัวเอียง

ใช้ * คร่อมข้อความที่ต้องการ

ตัวอย่าง

*ตัวเอียง*

จะแสดงเป็น

ตัวเอียง


ต้องการอ้างถึงคำพูดของใครสักคน

ใช้ > หน้าบรรทัดข้อความนั้น

ตัวอย่าง

> Markdown is intended to be as easy-to-read and easy-to-write as is feasible.

จะแสดงเป็น

Markdown is intended to be as easy-to-read and easy-to-write as is feasible.


สร้างลิงก์

ใช้ [คำที่ใช้ลิงก์](URL “หัวข้อเวลาเอาเมาส์ชี้”)

ตัวอย่าง

[รายละเอียดของ Markdown](http://daringfireball.net/projects/markdown/syntax “Markdown WebSite”)

จะแสดงเป็น

รายละเอียดของ Markdown


แทรกรูปภาพ

ใช้ ![ข้อความแทนภาพ](/path/to/img.jpg “ข้อความเมื่อเอาเมาส์ชี้”)

ตัวอย่าง

![GitHub Octocat Logo](/assets/images/octocat-small.png “The Octocat”)

จะแสดงเป็น

GitHub Octocat Logo


แทรกโค้ด

ให้ วรรค 4 ครั้ง หรือใช้ 1 tab นำหน้าบรรทัดนั้น ๆ หรือใช้ ` 3 ตัวขึ้นวางไว้บรรทัดบน และล่าง ของส่วนที่เป็น code

ตัวอย่าง

```
function disableThis(obj,state)
{
    obj.disabled = state;
}
```

จะแสดงเป็น
function disableThis(obj,state)
{
    obj.disabled = state;
}

แทรกโค้ด พร้อมทั้ง highlight syntax

ใช้ ```<lang> แทนที่จะใช้ ``` อย่างเดียว

ตัวอย่าง

```python
def hello(name):
    print(‘hello, ‘, name)
```

จะแสดงเป็น
def hello(name):
    print('hello, ', name)

Nattawut Phetmak

Jack of all Trades

blog comments powered by Disqus