Emphasizing

ข้อความที่อยู่ระหว่าง <body>...</body> จะถูกแสดงผลออกมาเป็นข้อความธรรมดาๆ แต่จะแตกต่างจากปรกติตรงที่ space ติดกันหลายๆ ตัวนั้นมีผลแค่ space ตัวเดียว ส่วนการขึ้นบรรทัดใหม่นั้น มีค่าเท่ากับการ space

ถ้าอยากแสดงผลขึ้นบรรทัดใหม่ ให้ใช้ tag <br /> ครับ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่ค่อยชอบการขึ้นบรรทัดใหม่เองเท่าไหร่ ใช้การขึ้นย่อหน้าเองด้วย <p>...</p> เอาดีกว่า


ส่วนการใส่ลูกเล่นให้ตัวอักษรนั้น มีรูปแบบดังนี้

    <strong>ตัวหนา</strong>
    <em>ตัวเอียง</em>
    <s>ขีดฆ่า</s> หรือ <del>ขีดฆ่า</del>

หมายเหตุ: ตามข้อกำหนดของ W3C <s> ใช้เมื่อไม่มีข้อมูลนั้นอยู่แล้ว ส่วน <del> ใช้สำหรับข้อความนั้นผิดต้องการลบ (แต่ยังให้ปรากฏอยู่) แล้วเขียนใหม่

อย่างไรก็ตาม ถ้าต้องการทำตัวหนาเป็นหัวข้อเรื่องแล้ว ควรใช้ tag heading แทน ซึ่งมีขนาดได้ตั้งแต่ 1-6 ดังนี้

    <h1>หัวเรื่องใหญ่สุด</h1>
    <h6>หัวเรื่องเล็กสุด</h6>

ส่วนการแทรกตัวอักษรให้ลอยเด่นเป็นพิเศษ ทำได้โดย

    ข้อความพื้น<sup>ยกขึ้น</sup>
    ข้อความพื้น<sub>ห้อยลง</sub>

การสร้างลิสต์ของข้อความเป็น bullet ก็ทำได้เช่นนี้

    <ul>
      <li>สมาชิกหนึ่ง</li>
      <li>ข้อความอีกข้อความ</li>
    </ul>

ถ้าต้องการให้ bullet กลายเป็นตัวเลขแทน ก็เปลี่ยนเป็น

    <ol>
      <li>สมาชิกแรก</li>
      <li>สมาชิกที่สอง</li>
    </ol>

ส่วนการสร้างเป็นตารางไปเลย

    <table>
      <tr>
        <td>1</td>
        <td>2</td>
      </tr>
      <tr>
        <td>3</td>
        <td>4</td>
      </tr>
    </table>

สุดท้าย ถ้าต้องการแบ่งส่วนของเอกสารด้วยเส้นคั่น สามารถทำได้โดย tag <hr /> ครับ

Nattawut Phetmak

Jack of all Trades

blog comments powered by Disqus