Apichart Nakarungutti
The Cake is a Lie
คุณ neizod ถามว่าสนใจจะลองเขียนดูไหม ผมเลยลองกับ PHP เพราะคิดว่าเป็นภาษาที่ถนัดที่สุด (ถ้าไม่นับ HTML/CSS นะ)
PHP เป็นภาษาที่ใช้ในงานด้านเว็บเพจ เพื่อสร้างหน้าเว็บแบบไดนามิค และทำงานฝั่งเซิฟเวอร์เป็นหลัก แต่ก็สามารถทำงานบน command line ได้ ทำงานเป็นโปรแกรม GUI แบบ standalone (WinBinder/PHP-GET) ก็ได้ ถ้า… บ้าพอ
PHP ทำงานแบบ interpreter (แปลทีละบรรทัด ขณะทำงาน) และมีภาษาที่ใกล้เคียงคือ ASP ของ Microsoft
PHP นั้นใช้ระบบตัวแปรแบบ Dynamic Typing (เปลี่ยนชนิดตัวแปรขณะที่ทำงานได้) และ Weak Typing (เปลี่ยนชนิดของค่าในตัวแปรอัตโนมัติ, ไม่จำเป็นต้องกำหนดชนิดตัวแปรก่อนแปลงค่า) สามารถเขียนได้ทั้งแบบ Functional และแบบ OOP ถ้าเขียนสคริปท์สั้น ๆ จะใช้ functional ก็ได้ แต่ถ้าเป็นโปรเจ็คขนาดใหญ่แนะนำให้ใช้แบบ OOP
PHP รุ่นล่าสุด (official) ตอนที่เขียนคือ 5.3.9 แต่ก็ต้องดูด้วยว่าเซิฟเวอร์ที่เราใช้นั้น ใช้ PHP รุ่นไหนอยู่
PHP นั้นเน้นการทำงานบนเว็บเซิฟเวอร์เป็นหลัก ถ้ามีโฮสต์ที่รองรับ PHP อยู่แล้วก็ทดลองอัพโหลดไฟล์ และเรียกใช้ผ่านเบราว์เซอร์ได้ แต่ถ้ายังไม่มี หากอยู่บน Windows แนะนำให้ติดตั้ง XAMPP (Portable) แต่หากใช้ Linux Distro ก็ติดตั้งแพ็กเก็จ Apache และ PHP ลงไปในเครื่อง
เมื่อเรียบร้อยแล้วก็เปิด Text Editor ขึ้นมาใช้ตามสะดวก แล้วพิมพ์
<?php
echo "Hello World!";
?>
บันทึกเป็นไฟล์ชื่อ hello.php
แล้วอัพโหลด หรือเก็บไว้ในโพลเดอร์ที่ Apache สามารถเข้าถึงได้ (ถ้าเป็น XAMPP จะอยู่ที่ .../xampp/htdocs/
ถ้าเป็น Apache บน Linux ที่ไม่ได้ปรับแต่งอะไรจะเป็น /var/www/
) เปิดเบราว์เซอร์ไปที่ http://localhost/hello.php
(หากเก็บไว้ในไดเร็คทอรี่ย่อยอื่น ๆ ก็ต้องพิมพ์ให้ตามนั้น) เบราว์เซอร์จะแสดง Hello World! สีดำบนพื้นสีขาวให้
นอกจากนี้ ตั้งแต่ PHP เวอร์ชัน 5.1.0 ขึ้นไป เราสามารถเรียกใช้ interactive shell ของ PHP ได้เหมือนกับของ Python หรือ Ruby โดยใช้พารามิเตอร์ -a
ต่อท้าย
# Linux
$ php -a
# Windows
\> php.exe -a
สำหรับ Windows อาจจะต้องไปยังโฟลเดอร์ที่ติดตั้ง PHP ไว้ด้วยนะ อาจจะอยู่ที่ C:\PHP5\
หรือ \XAMPP\PHP\
ก่อนที่จะเรียกใช้ แต่หาก Linux Disto ที่ติดตั้งอยู่เป็น Debain ตัว interactive shell ของ PHP จะไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากติดปัญหาด้านลิขสิทธิ์ของ libreadline แต่จะได้รับการแก้ไขในอนาคต อันนี้ต้องรอดูกันไปก่อน
แถม: ถ้าต้องการดูรายละเอียดของเว็บเซิฟเวอร์ที่ใช้ รวมทั้งรุ่นของ PHP ให้ใช้ phpinfo()
<?php
phpinfo();
?>