Nattawut Phetmak
Jack of all Trades
จุดเด่นของ vi อยู่ที่การบังคับ cursor เพราะในการใช้งานจริง เราไม่ได้พิมพ์เพิ่มไปเรื่อยๆ เพียงอย่างเดียว บางทีต้องย้อนกลับไปแก้ไขจุดเก่าๆ บ้าง การที่ต้องยกมือออกจาก home row ไปยังปุ่มลูกศร/จับเมาส์จึงดูไม่ค่อยเข้าท่าเท่าไหร่ vi ตอบโจทย์ตรงนี้ด้วยการเอาปุ่มบังคับทิศทางมาอยู่บน home row ซะเลย (โมเดลต้นแบบ: ADM-3A) ตอนนี้เราจะยังไม่รีบร้อนพิมพ์ข้อความกันครับ เอาการบังคับ cursor ให้คล่องๆ ก่อนดีกว่า
ก่อนอื่น หาไฟล์เอกสาร (เอาแบบที่พิมพ์มาแล้วเยอะๆ นะ ไม่งั้นเลื่อน cursor ไม่สนุก) มาซักไฟล์ แล้วเปิดอ่านเอกสารทาง terminal ด้วยคำสั่ง
$ vi filename
… ถ้าใครพลาดตรงนี้ไป ไม่ต้องออกโปรแกรมก็ได้ครับ ใน vi ให้พิมพ์
:open path/filename
แล้วกด [Enter]
ก็เปิดไฟล์ได้เช่นกัน หรือถ้าจำไม่ได้ว่าไฟล์ชื่ออะไร พิมพ์แค่
:open path/
เพื่อเป็นการเปิด shell สำหรับดูไฟล์ของ vi (แต่การเลื่อน cursor เลือกไฟล์ก็จะเป็นแบบ vi ด้วย) ก็ย่อมได้ครับ
การเลื่อน cursor จริงๆ แล้วไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลยครับ เหมือนกับการใช้ [w] [a] [s] [d]
เล่นเกมนั่นแหละ ขออย่างเดียวคือให้เปิดใจรับมัน แค่นั้นเองจริงๆ!
^
|
<-- h j k l -->
|
v
ลองฝึกเลื่อน cursor โดยใช้ [h] [j] [k] [l]
ให้ชิน ไม่ต้องพึ่งปุ่มลูกศรตามที่เคยทำมานะครับ
ใน vi มีระบบ prefix number สำหรับ command แทบทุก command ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว มันจะหมายถึงการทำสิ่งนั้นๆ เป็นจำนวนกี่เท่าจากปรกติ
เช่น ถ้าเรากด [l]
จะเป็นการเลื่อนลูกศรไปด้านขวา 1 ตัวอักษร การกด [5] [l]
จะหมายความว่า ให้ทำการเลื่อนไปด้านขวา 5 ตัวอักษรนั่นเองครับ
อันนี้ก็ลองฝึกให้ชินด้วยเช่นกันนะ
เนื่องจากไม่มีการแก้ไขไฟล์ เราสามารถป้อนคำสั่ง :q [Enter]
โดยไม่ต้องมีเครื่องหมาย !
ต่อท้าย (เหมือนตอนที่แล้ว) เพื่อออกโปรแกรมก็ได้ครับ